หลักสูตรปริญญาตรี 2 หลักสูตร

1) สาขาวิชาคณิตศาสตร์
ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ อักษรย่อ : วท.บ. คณิตศาสตร์ (จำนวน 134 หน่วยกิต)

2) สาขาวิชาสถิติ
ชื่อหลักสูตร : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ 
อักษรย่อ : 
วท.บ.สถิติ (จำนวนไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต)

สาขาวิชาคณิตศาสตร์

ชื่อหลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์
อักษรย่อ วท.บ. คณิตศาสตร์ (จำนวน 134 หน่วยกิต)

ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
ศึกษาเกี่ยวกับแคลคูลัสขั้นสูงและการประยุกต์  สถิติและความน่าจะเป็น พีชคณิต ระบบจำนวน  ตรรกศาสตร์และการให้เหตุผล  กระบวนการพิสูจน์  วิยุตคณิต เรขาคณิตวิเคราะห์  การวิเคราะห์เชิงคณิตศาสตร์ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น ทักษะการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคณิตศาสตร์และสถิติ การประยุกต์คณิตศาสตร์ในด้านการแพทย์และการเงินการลงทุน ทักษะการวิจัยทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น

จุดเด่นของหลักสูตร
ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนรู้ถึงกระบวนการได้มาซึ่งองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์ไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีความสามารถปรับตัวให้เท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสภาวการณ์ของโลก

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

แนวทางในการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อได้ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในหลายสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น คณิตศาสตร์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ สถิติ วิทยาการคณนา วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ศึกษา ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
แนวทางในการประกอบอาชีพสามารถประกอบอาชีพนักคณิตศาสตร์  นักคณิตศาสตร์ประกันภัย โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิจัย นักวิชาการและบุคลากรทางการศึกษา ในองค์กรทั้งภาครัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ

สาขาวิชาสถิติ

ชื่อหลักสูตร >วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ
อักษรย่อ     >วท.บ.สถิติ (จำนวนไม่น้อยกว่า 130 หน่วยกิต)

ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตร
ศึกษาค้นคว้าและเรียนเกี่ยวกับระเบียบวิธีการทางสถิติ วิธีการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การจัดการข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์การถดถอย การพยาการณ์ การวิเคราะห์หลายตัวแปร การออกแบบการทดลอง การควบคุมคุณภาพ การวิจัยดำเนินงาน การวิเคราะห์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน รวมถึงการฝึกงานหรือฝึกสหกิจศึกษา และการฝึกประสบการณ์ในการวิจัยผ่านการทำโครงงานทางสถิติ

จุดเด่นของหลักสูตร
พัฒนาบุคลากรทางสถิติ เพื่อให้ใช้ความรู้ทางสถิติ  ในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและมีเหตุผล เพื่อรองรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และสามารถทำงานได้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานทั้งปัจจุบันและอนาคต

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
ต้องสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และต้องผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาได้ในหลากหลายสาขา เช่น สถิติ สถิติประยุกต์ วิทยาการจัดการสถิติ วิทยาการสารสนเทศ วิทยาการข้อมูล การวิจัยดำเนินงาน การจัดการอุตสาหกรรม การจัดการโลจิสติกส์ และอื่นๆ
แนวทางการประกอบอาชีพ
สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจและเอกชน ในตำแหน่งงานดังต่อไปนี้ เช่น
1)    นักวิชาการสถิติ (Statistician)
2)    นักวิจัยและพัฒนา (Research and Development Officer)
3)    นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
4)    นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
5)    ผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมข้อมูล (Data Innovation Specialist)
6)    นักพัฒนาข้อมูลอัจฉริยะ (Data Intelligence Developer)
7)    นักวิเคราะห์นโยบายและแผน (Plan and Policy Analyst)
8)    นักสถิติประกันภัย (Insurance Statistician)
9)    เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ (Quality Control Officer)
10)   เจ้าหน้าที่ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต (Planning and Production Control Officer)
11)   เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management Officer)
12)   ครูและบุคลากรทางการศึกษา (Teacher and Education Personnel)
13)   อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (Other related occupations)